ผู้เชี่ยวชาญเผย “เคล็ดลับการนอน 10 ข้อ” ที่ช่วยให้การนอนของคุณสมบูรณ์แบบ!
ดร. โรเบิร์ต อ็อกซ์มัน (Robert Oexman) ผู้อำนวยการ The Sleep to Live Institute แห่งเมืองเมเบน รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้ให้คำแนะนำในการนอน เพื่อช่วยให้การนอนของคุณดีขึ้นได้ และนี่ก็คือเคล็ดลับดังกล่าวทั้ง 10 ข้อ
1. ทดเวลาสักเล็กน้อย
การปรับเวลาการนอนของเราให้เร็วขึ้นสักเล็กน้อย และพยายามเข้านอนล่วงหน้าหนึ่งชั่วโมงจากเวลานอนปกติ ก็ช่วยให้ร่างกายพร้อมสำหรับวันถัดไปยิ่งขึ้น
2. ห้ามตั้งนาฬิกาปลุกด้วยมือถือ
แม้ว่าเดี๋ยวนี้คนเราจะใช้โทรศัพท์มือถือแทนนาฬิกาปลุก แต่นั่นก็อาจเกิดความผิดพลาดได้ หลานคนเข้าใจดีว่าไม่ควรใช้เทคโนโลยีต่างๆ ก่อนเข้านอน แต่อย่างไรเสียความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การที่โทรศัพท์มือถืออยู่ใกล้ตัว ทำให้เรามักจะหยิบมันมาจิ้มเล่นตลอด หากเรานอนไม่หลับสักที
3. หลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาผ่านโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนนั้น ยับยั้งการสร้างเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารจำเป็นต่อการนอนหลับให้สนิท หากคุณจำเป็นต้องใช้แสงตอนกลางคืน หรือนาฬิกาปลุกดิจิทัล ลองหาซื้อที่เป็นแบบแสงสีฟ้าน้อยดู นอกจากคุณอาจจะลองใส่แว่นกรองแสงสีฟ้าเวลาทำงานดึกๆ หรือก่อนนอนดูก็ช่วยได้เหมือนกัน
4. เลือกใช้อุปกรณ์การนอนที่เหมาะสม และห้ามแบ่งกันใช้!
จงเลือกใช้ฟูกและหมอนที่เหมาะกับร่างกายของคุณ และอย่าห่มผ้าห่มร่วมกับคนรัก ถ้าทำได้ เพราะอะไรน่ะหรือ ก็เพราะหนึ่งในตัวก่อกวนความสัมพันธ์มากที่สุดคือการถูกแย่งผ้าห่มยังไงล่ะ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการทะเลากันเพราะเรื่องแย่งผ้าห่ม และเปลี่ยนมาใช้คนละผืนแทน
5. นอนหลับในที่มืดสนิท
ในเวลานอนควรจะปิดไฟทุกดวง เพราะแม้แต่แสงไฟอ่อนๆ หรือแสงสว่างจากนาฬิกาปลุก ก็สามารถยับยั้งการสร้างเมลาโทนินได้ ซึ่งเป็นสารจำเป็นต่อการนอนหลับสนิทอย่างที่กล่าวไป หากหน้าต่างห้องนอนของคุณปล่อยให้แสงสว่างจากข้องนอกผ่านเข้ามาได้มาก ให้ติดผ้าม่านทึบแสง หรือใส่ผ้าปิดตานอนหลับแทนก็ได้
6. หลับในที่ๆ ไม่มีเสียงรบกวน
พยายามกำจัดทุกเสียงรบกวนเวลานอน หากมันมีเสียงที่จัดการไม่ได้ ให้ลองซื้อเครื่องสร้างเสียง white noise หรือ pink noise มาใช้ดู
7. หากิจกรรมทำก่อนนอน
ก่อนอน ให้ทำกิจกรรมผ่อนคลายแบบเดิมทุกคือก่อนนอน เช่น การแช่น้ำน้ำร้อน หรืออ่านหนังสือ (แต่ก็ต้องในที่ๆ แสงน้อยนะ) การปฏิบัติเป็นกิจวัตรจะช่วยให้ร่างกายคุณปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนเวลาได้ง่ายขึ้น
8. จำกัดอุณหภูมิในการนอน
แท้จริงแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการนอนหลับนั้น อยู่ที่ประมาณ 17-20 องศาเซลเซียส แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับคุณห่มผ้าหนาแค่ไหนด้วยนะ หรือไม่ เวลานอนก็เปิดหน้าต่างรับลมเย็นๆ เสียหน่อยก็ทำให้หลับสบายดี
9. ฝึกหายใจลึกๆ
หากร่างกายคุณยังคงเหนื่อยล้า คุณก็จะหลับได้ยากขึ้น การฝึกหายใจลึกๆ จึงเป็นเหมือนการพยายาม ส่งสัญญาณ ให้ร่างกายของคุณผ่อนคลายลง
10. ยืดเส้นยืดสาย
จุดที่มักจะเกิดอาการหมอนรองกระดูกแตก คือหลังช่วงล่าง และ คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูก เคลื่อนทับเส้นประสาท มักมาจากช่วงเวลา 30-60 นาทีหลังจากที่ตื่นนอน วิธีการหลีกเลี่ยงอาการนี้ได้ดีที่สุดคือให้ยืดเส้นยืดสายสัก 5 นาทีก่อนลุกจากเตียง